บทที่ 5 เครื่องไสและงานไส

   เครื่องไส
 งานไสเป็นการตัดเฉือนชิ้นงานเพื่อลดขนาดและคุณภาพผิวของชิ้นงานตามต้องการ ด้วยมีดไสตัดเฉือนเนื้อชิ้นงานให้ขาดออกไปตามแนวไส


รูปที่ 5.1  การไสชิ้นงาน
5.1 ชนิดของเครื่องไส
           เครื่องไสโดยทั่วไปแบ่งออกได้ดังนี้  
  5.1.1เครื่องไสนอน 
         ป้อมมีดของเครื่องไสนอนเลื่อนกลับไปมาในแนวราบและชิ้นงานยึดจับด้วยปากกาหรือสกรูยึด

รูปที่ 5.2  เครื่องไสนอน

 5.1.2. เครื่องไสตั้ง  
          ป้อมมีดของเครื่องไสตั้งเลื่อนกลับไปมาในแนวดิ่งและชิ้นงานยึดจับด้วยปากกาหรือสกรูยึด ประเภทงานไสที่ได้จากการไสด้วยเครื่องไสแนวตั้งได้แก่ การไสร่องลิ่มบนเฟือง การไสเฟือง



รูปที่ 5.3  เครื่องไสตั้ง
   5.1.3เครื่องไส (Planer)
             ป้อมมีดของเครื่องไส Planer จะอยู่กับที่แต่โต๊ะงานเลื่อนกลับไปมาในแนวราบและชิ้นงานยึดจับด้วยปากกาหรือสกรูยึด ลักษณะเครื่องมีขนาดใหญ่  งานที่ผลิตจากเครื่อง Planer จะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ 


รูปที่ 5.4  เครื่องไส Planer

  5.2 ส่วนประกอบต่าง ๆที่สำคัญ ของเครื่องไสนอน
    5.2.1 ฐานเครื่อง
   5.2.2 ชุดแคร่เลื่อน APRON
  5.2.3 โครงเครื่อง
  5.2.4 เพลาปรับระยะชัก
  5.2.5 คันโยกบังคับเปลี่ยนเฟือง
  5.2.6 ชุดแคร่เลื่อน
 5.2.7 ชุดป้อมมีด

รูปที่ 5.5  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องไสนอน
5.3 หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน
       5.3.1 กลไกภายในของเครื่องไสนอน
          กลไกภายในของเครื่องไสทั่วๆ ไปมีการขับเคลื่อนด้วย Link ร่วมกับชุดเฟือง ที่รับกำลังขับจากมอเตอร์ ส่งผ่านมาที่เฟืองขับ (Pinion Drive From Gear Box) แล้วส่งผ่านไปล้อเฟืองตัวใหญ่ (Bull Wheel) ซึ่งจะประกอบร่วมกับRocker Arm ส่งกำลังขับผ่านไปยัง Compensating Link จะดัน Ram ทำให้เคลื่อนที่ไป กลับ ทำให้มีดไสซึ่งอยู่ในป้อมมีดตัดเฉือนชิ้นงานออก

รูปที่ 5.6  กลไกภายในของเครื่องไสนอน

5.3.2 การเคลื่อนที่ของ Ram
            จังหวะเดินหน้า และจังหวะถอยกลับของ Ram จะเคลื่อนที่ไป กลับ ในขณะที่ Crank Gear มีทิศทางการหมุนเป็นวงกลม ถ่ายทอดการหมุนมายัง Crank Pin และ Rocker Arm ตามภาพ A จังหวะการเคลื่อนที่ของ Ram มี 2 จังหวะคือ จังหวะเดินหน้าและจังหวะถอยกลับ ในช่วงจังหวะถอยกลับนี้จะมีระบบ Quick Return อย่างง่าย ๆ ช่วยลดเวลาในการถอยกลับของ Ram และตำแหน่งนี้จะอยู่ในมุมของ Rocker Arm อยู่ในจุดที่ชักกลับ เมื่อ Crank pin เคลื่อนที่จากจุด A ผ่านจุดB ไปยังจุด C (ดูภาพ B) Ram จะเคลื่อนที่เดินหน้าเท่ากับความยาวในช่วงชักที่ตั้งระยะไว้ เมื่อเคลื่อนที่จากจุด C ผ่านจุด D มายังจุด A Ram จะเคลื่อนที่ถอยกลับมา ณ ตำแหน่งเดิม จากรูปเห็นว่า ช่วงโค้ง ABC ยาวกว่าช่างโค้ง CDAดังนั้นในจังหวะช่วงเดินหน้าจะใช้เวลามากกว่าจังหวะ ช่วงถอยกลับและเป็นการป้องกันไม่ให้มีดทื่อเร็วได้อีกด้วย


รูปที่ 5.7  จังหวะเดินหน้า และจังหวะถอยกลับของเครื่องไสนอน


5.3.3 วิธีตั้งและปรับความยาวช่วงชัก

              เปลี่ยนความยาวของระยะชักให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่ง Crank pin ใน Crank Gear จะต้องเลื่อนออกจากจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นจุดที่ระยะชักมีค่าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นจุดที่ระยะชักมีค่าเป็นศูนย์ไปยังเส้นรอบวง จะเป็นจุดที่มีความยาวของระยะชักมีค่าความยาวมากที่สุด การปรับแต่งความยาวของช่วงชักนี้อาศัยหลักการของระยะการหนีศูนย์ปรับด้วยเกลียว โดยการหมุนปรับด้วยมือผ่าน Bevel Gear ซึ่งปลายเพลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเอาไว้ใส่ประแจหมุน
Crank pin จะมี Sliding Block ประกอบอยู่ตัว Sliding Block จะยึดติดแน่นกับ Dovetail Block ด้วยตัวDovetail Block นี้จะมีแกนเกลียวสวมอยู่และหมุนอยู่กับที่ได้ ดังนั้นเมื่อหมุนสลักเกลียวก็จะเป็นตัวทำให้ Dovetail Block เคลื่อนที่ และเปลี่ยนตำแหน่งของ Crank pin บน Crank Gear ทำให้ความยาวช่วงชักเปลี่ยนไป

รูปที่ 5.8 การปรับความยาวช่วงชัก

5.3.4 ระบบการป้อน
                    ระบบการป้อนของเครื่องไส การป้อนไสจะเคลื่อนที่ด้วยระบบ Feed Screw การหมุนป้อนอัตโนมัติกระทำได้โดยการหมุน Feed Screw ซึ่งกระทำในจังหวะชักกลับ หรือถอยกลับของมีดไส การป้อนจะเกิดขึ้นโดยการใช้Pawl และ Ratchet Wheel ประกอบเข้ากับปลายข้างหนึ่งของ Feed Screw (ดังภาพ) ในเครื่องไสสมัยใหม่จะมีFeed Box ใน Feed Box ภายในมีอุปกรณ์เช่นเดียวกันนี้ประกอบอยู่ด้วยหลักการเดียวกัน ในจังหวะทิศทางการถอยกลับ Pawl จะยกขึ้นด้วยกำลังของสปริง ทำให้ไม่มีการป้อน เมื่อถึงจังหวะเดินหน้า ตัว Pawl จะติดกับ Ratchet Wheel ทำให้ Ratchet Wheel หมุนไปหนึ่งฟันหรือสองฟัน หรือมากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะ Crank pin ที่ตั้งไว้หนีศูนย์ไปมากน้อยเท่าใด และจะเป็นจำนวนอัตราการป้อนด้วย การป้อนนี้จะกระทำแต่ละครั้งของช่วงชักเกลียว


รูปที่ 5.9  ระบบการป้อนของเครื่องไส
5.4  อัตราป้อนและการคำนวณคู่จังหวะชักงานไส
        5.4.1 อัตราป้อนไสและความเร็วตัด


        5.4.2 การคำนวณคู่จังหวะชักงานไส








รูปที่ 5.10  คู่จังหวะชักงานไส


L   =  ความยาวช่วงชัก (มม.)
La  =  ระยะเผื่อหน้ามีด 20 มม.
Lu  =  ระยะเผื่อหลังมีด 10 มม.
N   =  คู่จังหวะชักงานไส (คู่จังหวะชัก/นาที)
Vm  ความเร็วตัดเฉลี่ย (เมตร/นาที)
5.5 ความปลอดภัยและการบำรุงรักษาเครื่องไส
         5.5.1 ความปลอดภัยในงานไส
          1.ไม่จับยึดเครื่องมือ และอุปกรณ์ในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน
          2.ปัดเศษโลหะออกด้วยแปรง หลังจากเครื่องหยุดนิ่ง
          3.เมื่อเครื่องจักรกำลังทำงานห้ามออกจากบริเวณที่ปฏิบัติงาน
          4.ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง
          5.เมื่อเครื่องจักรชำรุดหรือเกิดอุบัติเหตุต้องรายงานให้ผู้ควบคุมทราบทันที
          6.ต้องระมัดระวังในการจับยึดเครื่องมือมีคมและไม่ใช้เครื่องมือที่แตกร้าว
          7.หยุดเครื่องก่อนเปลี่ยนความเร็วในการไส
          8.ปรับตำแหน่งของกลไกป้อนอัตโนมัติก่อนปิดสวิตช์
          9.ห้ามหยุดมีดก่อนจะชักกลับสุดยกเว้นเกิดเหตุสุดวิสัย
         10.ต้องแน่ใจก่อนว่าชิ้นงานถูกจับยึดอย่างถูกต้องยึดแน่นปลอดภัยและกลไกป้อนอยู่ในตำแหน่งปกติ

     5.5.2 การบำรุงรักษาเครื่องไส
           1.ทำความสะอาดเครื่องจักรทุกครั้งหลังจากการปฏิบัติงาน
           2.หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนการทำงาน
           3.ตรวจระดับน้ำมันในห้องเกียร์อยู่เสมอ
           4.ใช้น้ำมันหล่อลื่นให้ตรงตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา
           5.บันทึกการหล่อลื่นประจำวัน  ประจำสัปดาห์  ประจำเดือน ตามจุดที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดโดยเคร่งครัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น