บทที่ 1 เครื่องเลื่อยกลและงานเลื่อย

                                                         เครื่องเลื่อยกล (Sawing  Machine)
     เครื่องเลื่อยกล  (Sawing  Machine)
    การเลื่อย  คือ  การตัดชิ้นงานออกด้วยใบเลื่อยที่มีคมเล็ก ๆ หลาย ๆ คม  คล้ายคมสิ่วหรือคมสกัดจำนวนมาก  เรียงกันเป็นแถว  ฟันใบเลื่อยจะกัดชิ้นงานพร้อม ๆ กันทีละหลายฟันให้เป็นร่อง  จนขาดออกจากัน
การเลื่อย  จำแนกเป็นการเลื่อยด้วยมือ  (Hand  Sawing)  คือเป็นงานเลื่อยชิ้นงานจำนวนไม่มาก  และเลื่อยด้วยเลื่อยไฟฟ้า  (Power  Hack  Saw)  หรือเรียกว่า  เครื่องเลื่อยกล  (Sawing  Machine)  จำเป็นสำหรับงานเลื่อยชิ้นงานอุตสาหกรรม  คือเลื่อยชิ้นงานจำนวนมาก  ทั้งชิ้นงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่  เครื่องเลื่อยกลแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
เครื่องเลื่อยกลแบ่งออกเป็น  4  ชนิด  คือ
1. เครื่องเลื่อยชัก (Power  Hack Saw)
2.เครื่องเลื่อยสายพานนอน 
 (Horizontal  Band Saw)
3.เครื่องเลื่อยสายพานตั้ง  
(Vertical Band Saw)
4.เครื่องเลื่อยวงเดือน (Radius Saw or Circular Saw)
1. เครื่องเลื่อยชัก  (Power  Hack Saw)

เครื่องเลื่อยแบบชักเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่อหลายในการเลื่อยตัดวัสดุงานให้ได้ขนาดและความยาวตามความต้องการ  ระบบการขับเคลื่อนใบเลื่อย  ใช้ส่งกำลังด้วยมอเตอร์  แล้วใช้เฟืองเป็นตัวกลับทิศทางและใช้หลักการของข้อเหวี่ยงเป็นตัวขับเคลื่อนให้ใบเลื่อยเคลื่อนที่กลับไปกลับมาในแนวเส้นตรงอย่างต่อเนื่องทำให้ใบเลื่อยสามารถตัดงานได้



รูปที่  1.1  เครื่องเลื่อยชัก  (Power  Hack  Saw)
1.    ส่วนประกอบของเครื่องเลื่อยชัก 
        ส่วนประกอบทุกส่วนมีความสำคัญเท่ากัน เพราะจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันตลอดเวลาซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1  โครงเลื่อย  (Saw  Frame)  มีลักษณะเหมือนตัวยูคว่ำ  โครงเลื่อยส่วนใหญ่ทำจากเหล็กหล่ออย่างดีใช้สำหรับใส่ใบเลื่อย  โครงเลื่อยจะเคลื่อนที่ไป  มาอยู่ในร่องหางเหยี่ยวโดยการส่งกำลังจากล้อเฟือง  ดังรูปที่  1.2




รูปที่  1.2  ส่วนประกอบของเครื่องเลื่อยชัก
             1.1.2     ปากกาจับงาน (Vise) ใช้จับชิ้นงานเพื่อทำการเลื่อย สามารถปรับปรุงเอียงขวา-ซ้าย ได้ข้างละ45องศา และสามารถเลื่อนปากเข้า-ออกได้ด้วยเกลียวแขนหมุนล็อคแน่น ดังรูปที่ 1.3
รูปที่  1.3  แสดงส่วนประกอบปากกาจับงาน
             

               1.1.3     แขนตั้งระยะงาน (Cut Off Gage) มีหน้าที่ในการตั้งระยะของชิ้นงานที่ต้องการตัดจำนวนมาก ๆ เพื่อให้ชิ้นงานที่ตัดออกมามีความยาวเท่ากันทุกชิ้น ดังรูปที่ 1.4
รูปที่  1.4  แสดงการทำงานของแขนตั้งระยะงาน

                1.1.4       ระบบป้อนตัด เครื่องเลื่อยชักมีระบบป้อนตัด 2 ชนิด คือ ชนิดใช้ลูกถ่วงน้ำหนัก และชนิดใช้น้ำมันไฮดรอลิกทั้ง 2 ชนิด ทำหน้าที่เหมือนกันคือการป้อนตัด แต่หลักการทำงานต่างกันตรงที่ชนิดลูกถ่วงน้ำหนักอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่วนชนิดไฮดรอลิกอาศัยแรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิก
                1.1.5        ระบบหล่อเย็น เครื่องเลื่อยชักมีความจำเป็นต้องใช้น้ำหล่อเย็น เพื่อช่วยระบายความร้อนเนื่องจากการเสียดสีระหว่างใบเลื่อยกับชิ้นงาน และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของใบเลื่อยให้ยาวนาน
                1.1.6        ฐานเครื่องเลื่อยชัก (Base) ทำหน้าที่รองรับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเลื่อยชักทั้งหมด ฐานเครื่องเลื่อยชักบางชนิดจะทำเป็นโพรงภายใน เพื่อเป็นที่เก็บถังน้ำหล่อเย็นและมอเตอร์
                1.1.7        มอเตอร์ (Motor) เครื่องเลื่อยชักมีมอเตอร์ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังขับมอเตอร์จะใช้กับกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์หรือ 380 โวลต์ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
                1.1.8       สวิตซ์เปิด-ปิด เครื่องเลื่อยชักมีสวิตช์เปิด-ปิด แบบกึ่งอัตโนมัติ คือ สวิตซ์เครื่องจะปิดโดยอัตโนมัติเมื่อใบเลื่อยตัดชิ้นงานขาด
                1.1.9       ชุดเฟืองทด (Gear) ทำหน้าที่ในการทดส่งกำลังจากมอเตอร์ไปยังโครงเลื่อยเฟืองทดที่ใช้กับเครื่องเลื่อยชักมี 2 ชนิด คือ เฟืองเฉียง และเฟืองตรง
                1.1.10     มู่ลี่ (Pulley) ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังชุดเฟืองทด ใช้กับสายพานตัววี


1.2 กลไกการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก
           กลไกการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก เป็นกลไกส่งกำลังด้วยมอเตอร์ ส่งกำลังผ่านเฟืองขับ ซึ่งเป็นเฟืองทด เพื่อทดความเร็วรอบมอเตอร์ และเพื่อทดแรงขับของมอเตอร์ ที่ข้างเฟืองขับ มีจุดหมุนก้านต่ออยู่คนละศูนย์กับศูนย์กลางเฟือง เพื่อต่อก้านต่อไปขับโครงเลื่อย ให้ชักโครงเลื่อยเดินหน้าและถอยหลังได้


                                                                                  รูปที่  1.5  กลไกการทำงาน
1.3    น้ำหนักกดโครงเลื่อย 
           สำหรับน้ำหนักกดโครงเลื่อย  ยิ่งเลื่อนห่างออกจากหัวเครื่องมากเท่าใด  จะกดให้ใบเลื่อยตัดเฉือนมากเท่านั้น  ดังนั้น  การเลื่อนปรับระยะน้ำหนักกด  ให้สังเกตการตัดเฉือนของฟังเลื่อยด้วย
         น้ำหนักกดใกล้หัวเครื่อง  =  น้ำหนักกดโครงเลื่อยน้อย

         น้ำหนักกดห่างหัวเครื่อง  =  น้ำหนักกดโครงเลื่อยมาก
  รูปที่  1.6  น้ำหนักกดโครงเลื่อย
1.4    ใบเลื่อยเครื่อง  (Saw Blade) 
                   ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครื่องเลื่อยที่มีความสำคัญมาก  ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน  ใบเลื่อยเครื่องทำจากเหล็กรอบสูง  มีความเข็งแต่เปราะ  ดังนั้นการประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย  จะต้องประกอบให้ถูกวิธีและขันสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอประมาณ  เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยหัก  ส่วนต่าง ๆ ของใบเลื่อยประกอบด้วยความกว้าง ความยาว  ความหนา  ความโตของรูใบเลื่อย  และจำนวนฟันใบเลื่อย  ซึ่งมีทั้งฟันหยาบและฟันละเอียด  จำนวนฟันใยเลื่อยบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว  เช่น  10  ฟังต่อนิ้ว  14  ฟันต่อนิ้ว  แต่ที่นิยมใช้งานทั่ว ๆ ไป คือ 10 ฟันต่อนิ้ว  ดังรูปที่  1.7     

                                                รูปที่  1.7  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของใบเลื่อยเครื่อง
ลักษณะของใบเลื่อย
         - ความยาวของใบเลื่อย   การวัดความยาวของใบเลื่อยจะวัดจากจุดศูนย์กลางของรูยึดใบเลื่อยทั้งสอง 
           เรียกว่าขนาด  
        - ความยาวของใบเลื่อยจะมีขนาด  200  ม.ม.  และขนาด  300 ม.ม.
        -  ความกว้างของใบเลื่อย  กว้าง  12.7  ม.ม.  หรือ  1/2  นิ้ว
        - ความหนาของใบเลื่อย  หนา  0.64  ม.ม.  หรือ  0.025  นิ้ว
        - การวัดจำนวนฟันของใบเลื่อย  คือ  วัดระยะห่างของยอดฟันหนึ่งถึงยอดฟันหนึ่ง
       - ในระบบเมตริก  เรียกว่าระยะพิต  Pitch  (P)
ในระบบอังกฤษ จะวัดขนาดความถี่ห่างของฟันเลื่อยนิยมบอกเป็นจำนวนฟันต่อความยาว 1 นิ้ว                


                                                               รูปที่  1.8  ระยะพิต
ตารางที่  1  ขนาดมาตรฐานใบเลื่อยแบบเครื่องเลื่อยชัก

ตารางที่  2  การเลือกใบเลื่อยให้เหมาะกับงาน


1.5   มุมฟันเลื่อย  
                     ฟันเลื่อยแต่ละฟันมีลักษณะคล้ายกับลิ่ม  ทำหน้าที่จิกเข้าไปในเนื้อวัสดุ  ฟันแต่ละฟันประกอบด้วยมุมที่สำคัญ  3  มุม  ได้แก่
                            -          มุมคมตัด  (b)  เป็นมุมคมตัดของฟันเลื่อย

                          -          มุมคายเศษ  (g)  เป็นมุมที่ใช้ดันเศษโลหะออกจากฟันเลื่อย
                          -          มุมหลบ  (a)  เป็นมุมที่ทำให้ลดการเสียดสีระหว่างฟันเลื่อยกับชิ้นงาน  และช่วยให้เกิดมุมคมตัด
       รูปที่  1.9  มุมฟันเลื่อย
        1.6 คลองเลื่อย  (Free  Cutting  Action)  
                     คลองเลื่อย คือ  ความกว้างของร่องบนวัสดุงาน  หลังจากที่มีการตัดเฉือน  ปกติคลองเลื่อยจะมีขนาดความหนามากกว่าใบเลื่อย  ทั้งนี้  ถ้าไม่มีคลองเลื่อย  ขณะทำการเลื่อยใบเลื่อยก็จะติด  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบเลื่อยหัก
          1.7    ทิศทางการตัดเฉือน  
                    การทำงานของคมเลื่อยประกอบด้วยทิศทางที่สำคัญ  2  ทิศ  ได้แก่  ทิศทางการกดลงและ          ทิศทางการดันไป  ดูตามลูกศร  ทิศทางทั้ง  2  เป็นตัวทำให้เกิดการตัดเฉือนขึ้น  แรงที่กระทำการกดและการดันจะต้องสัมพันธ์กัน  ถ้าแรงใดมากเกินไปหรือฝืนอาจจะทำให้ใบเลื่อยหักได้1.8    การประกอบใบเลื่อยเข้าโครงเลื่อย
                  การประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยต้องระวังทิศทางของฟันเลื่อย  จะต้องใส่ให้ถูกทิศทางเนื่องจากจังหวะถอยกลับของโครงเลื่อย  จะเป็นจังหวะที่ทำการตัดเฉือน  เพื่อตัดเฉือนชิ้นงานการประกอบใบเลื่อยต้องผ่อนตัวดึงใบเลื่อยให้ยื่นออกแล้วใส่ใบเลื่อยเข้าไปให้รูของใบเลื่อยตรงกับสลักร้อยทั้ง  2  ข้าง  ของโครงเลื่อย  จากนั้นปรับตัวดึงใบเลื่อยให้พอตึง ๆ แล้วปรับขยับใบเลื่อยให้ตั้งฉากโดยการใช้ค้อนเคาะเบา ๆ ให้ใบเลื่อยแนบสนิทกับตัวดึงใบเลื่อย  จึงขันให้ตึงอีกครั้งด้วยแรงมือ
          1.9    การจับยึดชิ้นงานสำหรับงานเลื่อย     
                           การจับงานที่ผิดวิธีในกรณีชิ้นงานสั้น  ปากของปากกาไม่สามารถจะจับชิ้นงานให้แน่นได้  แรงกดของเกลียวจะดันชิ้นงานหลุด  ถ้าฝืนเลื่อย  ใบเลื่อยจะหัก  การจับงานที่ถูกวิธี  ปากของปากกาจะต้องกดขนานกันทั้ง  2  ปาก  การจับชิ้นงานสั้น  ใช้เหล็กหนุนช่วยในการจับ  ดันปากของปากกาให้ขนาน  กดชิ้นงานแน่นเมื่อขันเกลียวจะทำให้ชิ้นงานไม่หลุด

 รูปที่  1.14  การประกอบใบเลื่อย


                               
รูปที่  1.15  การจับชิ้นงานสั้นผิดวิธี

                                   รูปที่  1.6  การจับชิ้นงานสั้นถูกวิธี


          2.       เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน  (Horizontal  Band  Saw)
                     เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยยาวติดต่อกันเป็นวงกลม  การเคลื่อนที่ของใบเลื่อย  มีลักษณะการส่งกำลังด้วยสายพาน  คือมีล้อขับและล้อตาม  ทำให้คมตัดของใบเลื่อยสามารถเลื่อยตัดงานได้ตลอด  เนื่องตลอดทั้งใบ  การป้อนตัดงานใช้ระบบไฮดรอลิกส์ควบคุมความตึงของใบเลื่อย  ปรับด้วยมือหมุน  หรือใช้ไฮดรอลิกปรับระยะห่างของล้อ  มีโครงสร้างแข็งแรง  ตัวเครื่องสามารถติดตั้งได้กับพื้นโรงงาน
          3.       เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง  (Vertical  Band  Saw)
                        เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง  เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง  ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง  ใช้ตัดงานเบาได้ทุกลักษณะ  เช่น  ตัดเหล็กแบน  หรือเหล็กบางให้ขาด  หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเลื่อยชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้
          4.       เครื่องเลื่อยวงเดือน  (Circular  Saw or Radius Saw)
                       เครื่องเลื่อยวงเดือน  เป็นเครื่องเลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นวงกลม  มีฟันรอบ ๆ  วง  สามารถตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง  มักเป็นชิ้นงานบาง ๆ เช่น  อะลูมิเนียม สามารถตัดงานได้ทั้งลักษณะตรงและเอียงเป็นมุม
                                                                        ความปลอดภัยในการใช้เลื่อยวงเดือน
            -            เลื่อยวงเดือนเกิดอันตรายได้ง่ายมาก  ให้ใส่ฝาครอบใบเลื่อยเสมอ
            -            อย่าใจร้อน  ออกแรงควบคุมตัดเกินพิกัด
            -            ให้ระวังก่อนชิ้นงานขาด ใช้แรงควบคุมตัดเพียงเล็กน้อย  เพราะขาดง่าย
            -            ให้หมั่นตรวจการแต่กร้าวของใบเลื่อย  หรือการยึดติดคมเลื่อย

2 ความคิดเห็น: